foto1
Internet & Security
foto1
Learn to build your website
foto1
Try to our Goal!
foto1
Tip & Tricks to use Computer
foto1
Operating System


Our Sponsor

side 1

Easyhome Group

krumontree200x75
isangate com 200x75
ppor 200x75
isangate net 200x75
 e mil

No. of Page View

blood donate

cms header

การเริ่มต้นกับเว็บไซต์ประเภท CMS เพื่อศึกษาให้ถ่องแท้ จะต้องมีการจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราให้ทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่าย (Server) ที่รองรับภาษา php ฐานข้อมูล MySQL และมีระบบการจัดการฐานข้อมูลได้ ซึ่งโปรแกรมที่นำมาใช้นั้นก็แล้วแต่ระบบปฏิบัติการที่เราใช้งานอยู่ สำหรับระบบปฏิบัติการแม็ค นิยมใช้ Mamp

mamp4mac

เริ่มต้นกันด้วยการไปดาวน์โหลดตัวซอฟท์แวร์ MAMP กันมาก่อนเลยที่ http://www.mamp.info/en/index.php เลือกเอาตัวฟรีมาใช้นะครับ ถ้าเป็นเวอร์ชั่น Pro ต้องจ่ายเงินคุณสมบัติที่แตกต่างกันคือ สามารถทำเป็นเวอร์ชวลโฮสท์ได้มากกว่าหนึ่งไซต์ แยกฐานข้อมูลกันเด็ดขาด (เหมาะสำหรับผู้ให้บริการพื้นที่ให้เช่า) บทความนี้เขียนมานานกว่า 8 ปีมาแล้วนะครับ ภาพประกอบรายละเอียดจึงเป็นเวอร์ชั่นเดิมอยู่ (ณ วันที่เพิ่มข้อมูลเข้าสู่ระบบนี้ เป็น Mamp 5.3 แล้ว และยังมี Mamp for Windows 4.1 มาให้ใช้แล้วด้วย)

Mamp 01

  • ได้มาแล้วก็จัดการเมาท์ไฟล์ จะได้หน้าตาดังภาพข้างล่าง ลากเอาเฉพาะตัว MAMP ธรรมดาไปใส่ใน Application ได้เลย (นี่คือความง่ายของแม็ค อยากติดตั้งลากไปวาง อยากเอาออกลากไปทิ้งถังขยะ ไม่ต้องมานั่ง Setup หรือ Uninstall โปรแกรมให้ยุ่งยาก)

mamp 02

  • จากนั้นเราไปที่ Application > MAMP > ดับเบิ้ลคลิกที่ MAMP เลยครับเพื่อกำหนดค่า Config ต่างๆ ใช้งานต่อไป

mamp 03

  • จะเปิดหน้าต่างขึ้นมาให้เราใส่รหัสผ่าน (ว่าเป็นเจ้าของเครื่องตัวจริง ไม่ใช่อีแอบ) ก็ใส่ไปแล้วคลิกปุ่ม OK เลยครับ (เรื่องความปลอดภัยจะเหมือนกับ Linux เลยทีเดียวเพราะมาจากสายพันธุ์ Unix เช่นเดียวกัน)

mamp 04

  • จะมีหน้าต่างให้เราจัดการสั่งให้ Server ทำงานตามที่เราต้องการ ให้คลิกที่ปุ่ม Preferences... ได้เลย

mamp 05

  • เลือกในเช็คบอกซ์ตามที่คุณต้องการได้เลย แนะนำเลือกหัวข้อบนหัวข้อเดียว ส่วนหน้า Start Page ก็ยังคงเป็น /MAMP/ นะครับเพื่อให้ยังคงใช้ phpMyAdmin ตัวที่ติดมากับ MAMP เหมือนเดิม

mamp 06

  • ต่อไปเป็นการกำหนด Port ซึ่งปกติจะไม่ใช่ port มาตรฐาน แนะนำให้ใช้มาตรฐานคือ Apache port 80, MySQL port 3306 จะทำให้เรียกเว็บโดยไม่ต้องต่อด้วย :port number

mamp 07

  • ต่อไปเป็นการกำหนดเวอร์ชั่นภาษา PHP 4 or PHP 5 และการใช้คุณสมบัติของ Zend (ล่าสุด PHP มีถึงเวอร์ชั่น 7 แล้วนะครับ)

mamp 08

  • สุดท้ายก็เป็นการกำหนด Documents Root ที่เราจะเก็บไฟล์เว็บทั้งหลายนั่นแหละครับ ปกติเขาให้เก็ยไว้ที่ /Application/MAMP/htdocs/ แต่ผมไม่ถนัดเพราะมันไปยุ่งกับเรื่องของโปรแกรมมากเกินไป (กลัวเผลอเรอไปทำมิดีมิร้ายเข้า แม้จะสร้าง Alias ไปที่อื่นก็เถอะ) เลยย้ายเอามาไว้ที่ /Users/username/Sites สะดวกในการกำหนดสิทธิในไฟล์ต่างๆ ก็มันเป็นของเราเอง ดังภาพครับ (ระบบที่มาจาก UNIX สิทธิของไฟล์เป็นเรื่องสำคัญมาก)

mamp 09

mamp 10อ้อ MAMP เขายังมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้เราอีกนะ เพื่อจะสั่งให้ Apache, MySQL Server ทำงาน Widget ไงครับ ติดตั้งไว้ด้วย สะดวกดีออก

ต่อไปก็จะไปลุยต่อในเรื่องฐานข้อมูลนะครับ ไปที่บราวเซอร์พิม http://localhost/phpMyAdmin ลงไปในช่อง Address ได้เลย MAMP กำหนดผู้ใช้งานเป็น root รหัสผ่าน root นะครับ ถ้าใครจะเปลี่ยนรหัสผ่าน เมื่อเปลี่ยนแล้วจะเข้าไม่ได้นะครับต้องไปแก้ไขไฟล์ชื่อ config.inc.php ไฟล์นี้อยู่ที่ /Application/MAMP/bin/phpMyAdmin ครับ ที่บรรทัด 85, 86

$cfg['Servers'][$i]['user'] = 'root'; // MySQL user
$cfg['Servers'][$i]['password'] = 'newPass'; // MySQL password (only needed with 'config' auth_type)

ถ้าอยากได้การล็อกอินแบบหรูๆ อย่างภาพล่างก็ไม่ยากครับ ในไฟล์นี้แหละ ไปที่บรรทัดที่ 61

$cfg['blowfish_secret'] = '1234'; // ตรงเลข 1234 นี่ผมใส่เข้าไปจะเป็นคำอื่นๆ ก็ได้

แล้วไปที่บรรทัดที่ 84 ให้เปลี่ยนจาก config เป็น cookie

$cfg['Servers'][$i]['auth_type'] = 'cookie'; // Authentication method (config, http or cookie based)?

  • จะได้หน้าตาล็อกอินแบบนี้ เหมือนที่ Host ต่างๆ เข้าใช้กัน

mamp 11

  • เมื่อล็อกอินเข้าไปใน phpMyAdmin แล้วก็สร้างฐานข้อมูลได้เลย จะทดสอบการติดตั้ง Mambo ให้ดูด้วยเลย จึงสร้างฐานข้อมูลชื่อ mambo เปล่าๆ ไว้รอ (ผมหาตัวติดตั้งที่เป็น UTF-8 ไม่เจอได้มาเป็น tis-620 ซึ่งผมว่ามันล้าสมัยไปแล้วครับ)

mamp 12

  • ต่อจากนั้นก็จัดการแตกไฟล์ที่เราโหลดมาจากเว็บ http://www.mambohub.com/th/ เปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์ให้สั้นๆ ตามที่คุณอยากได้ ตัวอย่างผมเปลี่ยนเป็น mambo แล้วเอาไปไว้ที่ /Users/username/Sites/mambo กำหนดสิทธิให้โฟลเดอร์นี้เขียนได้ทุกคนไปเลยสะดวกในการทำงาน (ยุคนี้ต้องเป็น Joomla! นะครับ ตัวอย่างนี้ 8 ปีผ่านมาแล้ว)

mamp 13

  • ติดตั้ง mambo ด้วยการเรียกที่ http://localhost/mambo ได้เลย เลือกภาษาเป็น ไทย แล้วเจอเป็น tis-620 ลองเลื่อนลงมาข้างล่างหน่อยนะว่า ทุกโฟลเดอร์สำคัญต้องเป็น Writable ครับ

mamp 14

  • ต่อไปก็คลิก ทำต่อไป ถึงหน้ายอมรับลิขสิทธิ์เขาหน่อยตามธรรมเนียม ด้วยการคลิกเช็คบอกซ์ข้างล่าง (ถ้าไม่ยอมรับก็ติดตั้งไม่ได้แหละครับ ยอมครับยอม)

mamp 15

  • การกำหนดรายละเอียดของเว็บไซต์ต่างๆ ใส่เข้าไปเลยให้ถูกต้องก็แล้วกัน ตามที่ได้ทำไว้ก่อนหน้าใน phpMyAdmin เช่น ชื่อผู้ใช้ข้อมูล รหัสผ่าน ชื่อฐานข้อมูล ฯลฯ ตรวจสอบอีกครั้งก่อนคลิก ทำต่อไป

mamp 16

  • ตอนนี้ก็ตั้งชื่อเว็บไซต์ ที่จะไปปรากฏบนไตเติ้ลบาร์กันได้แล้ว คลิก ทำต่อไป

mamp 17

  • มาถึงหน้านี้ Mambo ก็จะบอกเราว่าจะเรียกดูเว็บไซต์นี้ด้วย URL อะไร และไฟล์ทั้งหมดจะเก็บอยู่ที่ใด (เมื่อจะแก้ไขทีหลัง) พร้อมทั้งรหัสผ่านเริ่มต้นของผู้ดูแลระบบด้วย (คัดลอก จดบันทึกไว้ด้วยนะ เดี๋ยวลืม) คลิก ทำต่อไป

mamp 18

  • ใกล้จะเสร็จแล้วครับ คราวนี้จะมาเจอหน้าต่างรายงาน ชื่อผู้ดูแลระบบ และรหัสผ่าน คัดลอกรหัสผ่านไว้ เพื่อทำการล็อกอินเข้าไปในหน้าผู้ดูแลแล้วเปลี่ยนใหม่ให้คุณจดจำง่ายขึ้นต่อไป พร้อมนี้ Mambo จะบอกให้คุณเปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์ installation เป็นชื่ออื่นๆ ก่อนเพื่อความปลอดภัย

mamp 19

  • มีทางเลือกให้คุณทำ 2 ทาง คือ ดูเว็บไซต์ หรือ จะไปจัดการเว็บไซต์ในฐานะผู้ดูแลระบบ แนะนำไปที่ ผู้ดูแลระบบ เพื่อเปลี่ยนรหัสผ่านของ admin ก่อนเดี๋ยวลืม คลิกที่จัดการสมาชิก เลือก Admin แก้ไขรหัสผ่านเลย

mamp 20

  • จากนั้นถ้าอยากดูเว็บไซต์ก็ ล็อกเอาท์ หรือจะเปิดหน้าต่างใหม่เรียก http://localhost/mambo/ ก็ตามใจ

    อยากแก้ไขอย่างไรก็จัดการในหน้า Administrator นะครับ อีกยาวกว่าจะสวย อาจจะต้องมีการเปลี่ยน Theme เพิ่มสมุดเยี่ยม บอร์ด ดาวน์โหลด บทความอีกจิปาถะ จัดไปนะนี่แค่น้ำจิ้ม

mamp 21

มีคำถามว่า "ถ้าอยากจะ publish website จากเครื่องตัวเองเลย ต่อจากการติดตั้ง MAMP + MAMBO ต้องทำอย่างไรบ้างอ่ะครับ?" ก็เพียง Export เอาฐานข้อมูลเป็นไฟล์ .sql ออกมาจาก phpMyAdmin ครับ (อาจจะทำการบีบอัดเป็นนามสกุล *.zip หรือ *.gz เพื่อให้มีขนาดเล็กลงก็ได้)

จัดการติดตั้งเว็บไซต์บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์หลักเหมือนติดตั้งในเครื่องเรานี่แหละครับ แล้วอัพโหลดพวกภาพประกอบต่างๆ ในเว็บ ไฟล์ Theme ยกเว้นไฟล์ configuration.php (เพราะจะต่างจากบนโฮส์จริง)

เสร็จแล้วใช้ phpMyAdmin บนโฮสท์ import ไฟล์ .sql ที่เราเตรียมไว้แล้วจากเครื่องจำลองของเราขึ้นไปแทนบนโฮสท์จริง ก็จะได้เว็บไซต์เหมือนกับในเครื่องจำลองทุกประการแล้วครับ

สนับสนุนให้ Easyhome อยู่รับใช้ท่านตลอดไป ด้วยการคลิกแบนเนอร์ไปเยี่ยมผู้สนับสนุนของเราด้วยครับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่เว็บไซต์ Easyhome in Thailand เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)