foto1
Internet & Security
foto1
Learn to build your website
foto1
Try to our Goal!
foto1
Tip & Tricks to use Computer
foto1
Operating System


Our Sponsor

side 1

Easyhome Group

krumontree200x75
isangate com 200x75
ppor 200x75
isangate net 200x75
 e mil

No. of Page View

blood donate

manage joomla

การบริหารจัดการเว็บไซต์ด้วย Joomla! 3.9.x ตอนที่ 2 ในตอนนี้จะแนะนำการติดตั้ง Module, Component, Plugins ต่างๆ เพื่อให้เราสามารถจัดการเนื้อหาได้สะดวกง่ายดายขึ้น สามารถกำหนดการแสดงผลต่างๆ ให้มีลูกเล่นที่หลากหลาย ช่วยให้เว็บไซต์เราดูดีมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมในทางที่ดีขึ้น รวมทั้งช่วยลดระยะเวลาในการป้อนข้อมูล และแทรกสื่อมัลติมีเดียต่างๆ ตัวติดตั้งเสริมที่จะแนะนำให้ติดตั้งประกอบไปด้วย

  • JCE Editor : เครื่องมือในการแก้ไขข้อความ จัดการขนาดตัวอักษร สีสัน และแทรกสื่อมีเดียแทน TinyMCE เดิม (ที่ผู้เขียนว่ายังไม่เจ๋งพอ)
  • SwitchEditor : ตัวช่วยสลับเครื่องมือแก้ไขข้อความ เพื่อจัดการใช้ในโมดูลบางตัวที่ไม่สามารถใช้เครื่องมือแบบ WYSIWYG ได้ (ตามเงื่อนไขการเขียนโค๊ด PHP เพื่อความปลอดภัย)
  • PowerAdmin : ตัวช่วยการจัดการเบื้องหลังที่ทำได้ดีกว่าเดิม (ที่มีมาให้)
  • Thumbnail Image : การย่อภาพให้เป็นภาพตัวอย่างขนาดเล็ก (พื้นที่แสดงผลจำกัด) ให้ผู้ชมคลิกเพื่อดูภาพขยายได้
  • Gallery Images : การทำอัลบั้มภาพง่ายๆ โดยไม่ต้องเขียนโค๊ดคำสั่ง
  • Video Media : การแทรกสื่อมัลติมีเดียจากแหล่งต่างๆ ด้วยปลั๊กอินอย่างง่าย
  • Facebook Like & Share : ปลั๊กอินสำหรับให้ผู้ชมแสดงความเห็นในบทความ พร้อมทั้งกด Like และ Share ไปยัง Facebook ของผู้ชมได้
  • Visitor Counter : ตัวนับจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ (จำนวน Page View) ในแต่ละวัน สัปดาห์ เดือน และรวมทั้งหมด เป็นกำลังใจให้อยากเขียนบทความมากขึ้นนั่นเอง (ถ้าไม่มีคนดูก็จะห่อเหี่ยวหน่อยๆ สู้ๆ นะ)

บรรดาตัวติดตั้งเสริมเหล่านี้ใช้สำหรับติดตั้งกับ Joomla! 3.x ได้รวบรวมมาให้ดาวน์โหลดตามหัวข้อที่จะอธิบายในลำดับต่อไป อาจจะเป็นเวอร์ชั่นเก่าไปหน่อย เมื่อติดตั้งแล้วก็อาจจะมีแจ้งเตือนให้ทำการอัพเดท ก็ค่อยอัพให้ใหม่เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของเว็บไซต์เราด้วย อย่าปล่อยปละละเลยนะหมั่นเข้ามาตรวจสอบบ่อยๆ (ก็ไม่เข้าใจว่า บรรดาแฮกเกอร์มือบอนพวกนี้ว่างนักหรือไง เว็บไซต์ที่ไม่ได้มีมูลค่าทางธุรกิจก็เข้ามาหาช่องโหว่บ่อยเหลือเกิน คงจะซ้อมมือนั่นแหละ เพราะฉะนั้นก็ปิดช่องโหว่ด้วยการอัพเดทบ่อยๆ นะ ขอบอก)

joomla cms 47

การติดตั้งไฟล์เหล่านี้จะใช้วิธีการเดียวกันหมดคือ ไปที่เมนู Extension > Install > Upload Package File เลือกไฟล์ที่ต้องการติดตั้ง คลิก Open ก็รอสักครู่ระบบจะทำการอัพโหลดไฟล์เข้าไปที่เครื่องแม่ข่าย ทำการแตกไฟล์ติดตั้ง รอจนเสร็จสิ้นจะมีข้อความบอกว่า การติดตั้งสำเร็จ Installation of the package was successful.

1. JCE Editor (Download)

เครื่องมือแก้ไขข้อความเดิมที่ติดตั้งมากับชุด Joomla! จะเป็น TinyMCE ซึ่งก็มีเครื่องมือที่ใช้งานได้ค่อนข้างครอบคลุมอยู่ ดังภาพล่างนี้

TinyMCE

แต่บางคนก็ไม่คุ้นเคยนัก อยากได้ตัวแก้ไขตัวอื่นที่ดีๆ กว่านี้ก็มีให้เลือกมากมาย แนะนำลอง JCE Editor ดูครับ (เจ้านี้เขามีตัว Professional ขายด้วย เพิ่มเติมเข้ามาคือความสามารถในการจัดการไฟล์ แก้ไขไฟล์ภาพ การตัด ครอปไฟล์ การจัดการสื่อมีเดียได้ด้วย) ที่นำมาให้ทดลองใช้นี้เป็นตัวฟรีครับ การใช้งานเครื่องมือ JCE Editor นี้จะอธิบายเพิ่มในเรื่องการสร้างเนื้อหา บทความในเว็บไซต์อีกทีนะครับ ใครใช้เครื่องมือในการจัดการเอกสาร MS Word บ่อยๆ คงจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วไม่ยาก

JCE Editor

2. Switch Editor (Download)

ปลั๊กอินตัวนี้จะช่วยให้เราจัดการสับเปลี่ยนไปใช้ Editor อื่นๆ ในการจัดการเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น ทั้งใช้ TinyMCE, JCE Editor, CodeMirror, None Editor ได้ง่ายดายโดยไม่ต้องไปตั้งค่าใน Global Configuration ให้วุ่นวายนั่นเอง (ปกติจะเปลี่ยน Editor ก็ต้องไปแก้ที่ตรงนี้ทุกครั้งไป ยุ่งยากเสียเวลา) พอติดตั้งเสร็จตัวสวิทช์จะปรากฏที่ด้านล่างซ้ายในหน้าแก้ไขบทความดังภาพ

joomla cms 48

3. PowerAdmin (Download)

PowerAdmin เป็นคอมโพเนนท์ที่เข้ามาช่วยในการบริหารและจัดการเว็บไซต์ Joomla! ได้ง่ายขึ้น ทั้งการค้นหาข้อความ เนื้อหา บทความในเว็บไซต์ การจัดการหัวข้อต่างๆ จัดการเมนู การย้ายโมดูลไปไว้ในตำแหน่งต่างๆ และอื่นๆ อีกมากมายไว้ในที่เดียว เมื่อติดตั้งแล้วตัว PowerAdmin จะมาแทนที่แถบเมนูด้านบนดังภาพเปรียบเทียบด้านล่างนี้

joomla cms 49
ก่อนการติดตั้ง PowerAdmin

joomla cms 50
เมื่อติดตั้ง PowerAdmin แล้ว

หลังการติดตั้งจะเห็นว่าทางผู้พัฒนามี PowerAdmin Version Professional ให้เลือกติดตั้งใช้งานได้ (มีค่าใช้จ่าย) แต่เราจะใช้เวอร์ชั่นฟรีก็ได้ แต่ควรอัพเดทเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดด้วยนะ (ปุ่มสีแดงๆ Update Now คลิกเลย) สามารถดูคุณสมบัติต่างๆ ได้จากคลิปด้านล่างนี้

4. Thumbnail Image (Download)

ปลั๊กอินตัวนี้มีชื่อว่า mavikThumbnails ซึงเป็น Plugins เก่าเก็บมากๆ เลยก็ว่าได้ ซึ่งหน้าที่หลักๆ ของเขาก็คือ การย่อ-ขยาย ขนาดรูปภาพในบทความของเราให้เล็กลง แล้วเมื่อผู้ชมคลิกที่ภาพนั้นจะขยายให้ใหญ่ขึ้นเป็นแบบ Popup นั้นเอง แต่ใครจะรู้ไหมครับว่าจริงๆ แล้ว เจ้า mavikThumbnails ยังสามารถช่วยทำให้รูปภาพเราในหน้าแรกรายการบทความ หรือหน้า Catagory Blog นั้น สามารถที่จะคลิ๊กที่รูปแล้วลิงค์เข้าสู่บทความนั้นได้เลย (เหมือนการคลิกที่ปุ่ม Readmore : อ่านเพิ่มเติม นั่นเอง) มันแจ่มมากใช่ไหม

joomla cms 51

เมื่อติดตั้งปลั๊กอินตัวนี้แล้วจะยังไม่ทำงานนะครับ ต้องไปที่ Extension > Plugins เลือก Content - mavikThumnails เพื่อเข้าไปตั้งค่าให้เป็น Enable เสียก่อนครับ แล้วทำการบันทึกเป็นอันใช้ได้ (คลิกที่ภาพดูซิ ภาพจะขยาย Popup ขึ้นมาทันที นี่คือคุณสมบัติของ mavikThumnails เขาล่ะ)

joomla cms 52

5. Gallery Images (Download)

การทำเว็บไซต์ขององค์กรหรือหน่วยงานหลายๆ แห่ง ก็มักจะมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อการประชาสัมพันธ์องค์กร แน่นอนก็มักจะมีการบันทึกภาพกิจกรรมต่างๆ มากมายอาจมีมากเป็นหลายสิบหรือรายร้อยภาพ ครั้นจะเอามาแทรกในเนื้อหาบทความบนเว็บไซต์ให้ครบทุกรูปที่มี ก็คงเป็นเรื่องไม่สนุกนักใช่ไหม ถ้าอยากให้ง่ายก็ควรใช้ตัวช่วยเป็นปลั๊กอินชื่อว่า Simple Image Gallery เมื่อติดตั้งแล้วก็ต้องเข้าไปตั้งค่าให้ Enable เช่นเดียวกัน รวมทั้งกำหนดขนาดของภาพตัวอย่างใน Gallery ด้วย (หรือจะใช้เป็นค่าเริ่มต้นของปลั๊กอินเลยก็ได้)

joomla cms 53

ส่วนการใช้งานจะบอกวิธีการอย่างละเอียดอีกครั้งในเรื่องการสร้างเนื้อหาบทความ ในตอนต่อๆ ไปนะครับ

6. Video Media (Download)

หลายๆ คนเมื่อทำเว็บไซต์แล้วก็อยากจะแทรกสื่อมีเดียพวกคลิปวีดิโอจาก Youtube, Vimeo, Dailymotion, Facebook Videos, SoundCloud และอื่นๆ ลงในเนื้อหาบทความของเรา โดยไม่ต้องเขียนโค๊ดแทรกให้ยุ่งยาก ก็เลยขอเสนอปลั๊กอินที่ชื่อว่า AllVideos จาก JoomlaWorks เจ้าเดียวกับ Simple Image Gallery นั่นเอง เมื่อติดตั้งแล้วก็ต้องไปเปิดให้ปลั๊กอินตัวนี้ Enable เช่นเดียวกัน การใช้งานเดี๋ยวอยู่ในตอนต่อไปนะ (ตอนนี้ติดตั้งไปก่อน)

joomla cms 54

7. Facebook Like & Share (Download)

ปลั๊กอินอีกตัวที่เหมาะสมกับยุคนี้คือ Facebook Comment Like and Share เพื่อให้ผู้ชม/ผู้อ่านบทความของเราสามารถแสดงความคิดเห็น แสดงความชื่นชอบด้วยการกดปุ่ม Like และแชร์บทความของเราไปยัง Facebook ของผู้ชมได้ด้วย ติดตั้งแล้วก็ไปกำหนดให้แสดงผลท้ายบทความของเราได้เลย (ตัวอย่างก็ท้ายบทความนี้ เชิญทุกท่านให้คอมเมนต์ กดไลค์ กดแชร์ได้นะครับ ไม่ต้องเกรงใจเลย) อยากให้แสดงปุ่มอะไรบ้างที่ท้ายบทความก็กดเปิดให้เป็น Yes นะ

joomla cms 55

8. Visitor Counter (Download)

จำนวนนับผู้ชมหรือจำนวนหน้าเว็บที่ถูกคลิกเข้าชมในแต่ละวันนั้น เป็นเครื่องแสดงว่าเว็บไซต์ของเรามีคนสนใจเข้าชมมากน้อยเพียงใด ใน Joomla! มีเครื่องมือที่เป็นโดูล คอมโพเนนท์ และปลั๊กอินช่วยนับหลายตัว แต่ละตัวก็มีการเก็บค่าที่แตกต่างกันเช่น นับทุกครั้งที่มีผู้ชมเข้ามา หรือนับจำนวนครั้งตามหมายเลขไอพีและสัมพันธ์กับช่วงเวลาที่กำหนดไว้ ก็เลือกเอามาใช้ตามความพอใจครับ ที่นำมาเสนอนี้จะเป็นแบบไม่นับจำนวนผู้ชมตามเลขไอพี แต่จะนับจำนวนหน้าที่คลิกเข้าไปชมในช่วงเวลาหนึ่งๆ จากไอพีนั้น โมดูลคอมโพเนนท์นี้ชื่อ Vinaora Visitors Counter v3.4 ที่มีความละเอียดพอสมควรและนับในช่วง 24 ชั่วโมง (00.00-23.59) แต่น่าจะเป็นตามเวลาเครื่องแม่ข่ายเรา +7 (ไม่มั่นใจนัก) ตัวเลขนับที่เห็นไม่ใช่จำนวนคนมาชมแต่เป็นหน้าที่ถูกเปิดเข้าดู (Page View) นะครับ

joomla cms 56

เมื่อติดตั้งเสร็จเราต้องเข้าไปเปิดการทำงานใน Module ด้วยการตั้งชื่อในช่อง Title ให้สอดคล้อง บางคนใช้ Visitor Counter ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่ ผู้เขียนเลยใช้คำว่า Page View แทน จากนั้นกำหนดตำแหน่ง (Position) ที่จะให้โมดูลนี้แสดงผล (ทั้งนี้ขึ้นกับเทมเพลตด้วยนะครับ จะอธิบายอีกครั้งหนึ่ง) ส่วน Status กำหนดให้เป็น Published ส่วนค่าตัวเลขนับตั้งค่าได้ในกรอบสีน้ำเงิน และอย่าลืมกำหนดให้แสดงผลในหน้าใดบ้างในแท็ป Menu Assignments จะอธิบายอีกทีครับ (ในเรื่องการติดตั้งเทมเพลตเว็บไซต์)

อย่าลืมว่า Plugins เหล่านี้ เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วจะต้องเข้าไปตั้งค่าให้ปลั๊กอินทำงาน โดยไปที่เมนู Extension > Plugins คลิกเลือกเช็คบ็อกหน้าชื่อปลั๊กอินตัวนั้นแล้ว เลือกคลิกที่ปุ่ม Enable ด้วยดังภาพ

joomla plugin 01

จำเป็นต้องติดตั้ง "ภาษาไทย" ในเว็บไซต์ไหม?

มีคำถามตามมาว่า "เราจำเป็นต้องติดตั้งภาษาไทยในระบบไหม?" ตอบได้ว่า "ติดตั้งก็ได้ ไม่ติดตั้งก็ไม่เป็นไร เพราะไม่มีผลต่อการแสดงภาษาไทยในเว็บไซต์แต่อย่างใด" อ้าว! แล้วถ้าติดตั้งนี่มันจะมีผลตรงไหนหรือ?

joomla cms 57

ภาษาไทย ใน Joomla! ที่เราติดตั้งเข้าไปนั้น จะมีผลตรงการแสดงเมนูหรือหัวข้อต่างๆ ในส่วนหน้าการจัดการของผู้ดูแล (Administrator) เป็นหลัก เหมือนตอนที่เราทำการติดตั้งระบบครั้งแรกที่มีรายละเอียดเป็นภาษาไทย ส่วนในหน้าเว็บไซต์ที่ผู้ชมเห็นนั้น บรรดาเมนู เนื้อหาบทความ ถ้าเรากรอกเป็นภาษาไทยก็ได้เว็บไซต์ที่เป็นภาษาไทยแน่นอนอยู่แล้ว

joomla cms 58

พอติดตั้งภาษาไทยลงไปแล้วเราต้องกำหนดการแสดงผลภาษาไทยให้เป็น Default คือติดดาวที่ภาษานั้น อย่างภาพบนเราให้ในส่วน Site ติดดาวที่ภาษาไทย พอไปดูผลเว็บไซต์ ก็ยังเป็นภาษาอังกฤษอยู่ดีดังภาพล่าง

joomla cms 59

จะเห็นว่า มีเฉพาะเนื้อหาที่เราแก้ไขเป็นภาษาไทย "ยินดีต้อนรับทุกท่าน" เรื่องเดียวเท่านั้นที่เป็นภาษาไทย นอกนั้น ข้อมูลถูกป้อนเป็นภาษาอังกฤษก็ไม่ได้ถูกแปลเป็นภาษาไทยแต่อย่างใด กลับกันถ้าเป็นส่วนหน้าของผู้ดูแลหรือหน้าแอดมินนั้น จะเห็นผลชัดเจนเลยว่าถูกแปลเป็นไทย ภาพล่างภาษาอังกฤษถูกตั้งเป็นค่าเริ่มต้น (Default) ติดดาว เมนูทุกตำแหน่งยังเป็นภาษาอังกฤษอยู่

joomla cms 60

คราวนี้เรามาตั้งให้หน้า Administrator มีค่าภาษาเป็นภาษาไทย Thai (th-TH) เป็นค่าเริ่มต้น (Default) ติดดาว เมนูทุกตำแหน่งก็จะแสดงเป็นภาษาไทย ไม่เว้นแม้แต่ภาษาตรงแถบเมนู PowerAdmin ด้วย

joomla cms 61

คงเห็นแล้วนะครับว่า ภาษาไทย สำหรับ Joomla! นั้นมีไม่มีผลต่อการแสดงภาษาไทยในหน้าเว็บไซต์สำหรับผู้ชมแต่อย่างใด จึงไม่จำเป็นต้องติดตั้งลงไปให้เสียเวลา และในการแนะนำการใช้งาน (สอนใช้ Joomla!) ผู้เขียนแนะนำว่า ใช้เมนูในส่วนหน้าการจัดการของผู้ดูแลระบบเป็นภาษาอังกฤษดีกว่า เพราะเวลาเรามีปัญหาไปสอบถามในกระดานสนทนา (Forums) ต่างๆ รวมทั้งการดูคลิปการใช้งานใน Youtube ก็จะบอกวิธีการผ่านเมนูภาษาอังกฤษทั้งนั้น จะได้เข้าใจตรงกันไม่สับสนงุนงงกันนะครับ

การจัดการเนื้อหาใน Joomla! ตอนที่ 1arrow b

สนับสนุนให้ Easyhome อยู่รับใช้ท่านตลอดไป ด้วยการคลิกแบนเนอร์ไปเยี่ยมผู้สนับสนุนของเราด้วยครับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่เว็บไซต์ Easyhome in Thailand เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)