foto1
Internet & Security
foto1
Learn to build your website
foto1
Try to our Goal!
foto1
Tip & Tricks to use Computer
foto1
Operating System


Our Sponsor

side 1

Easyhome Group

krumontree200x75
isangate com 200x75
ppor 200x75
isangate net 200x75
 e mil

No. of Page View

blood donate

seo header

แน่นอนว่า "คนที่ทำเว็บไซต์" ทุกคนย่อมมีความต้องการให้เว็บไซต์ของเราเป็นที่รู้จักของผู้คนใน "โลกอินเทอร์เน็ต" โลกแห่งการติดต่อสื่อสาร บางคนคิดว่า "ไม่เห็นจะยากเลยก็บอกเพื่อนไปสิว่า เว็บไซต์ของเราชื่ออะไร บอกเพื่อนของเพื่อนไปเรื่อยๆ บอกญาติพี่น้อง ลูกหลาน แค่นั้นก็มีคนรู้จักแล้ว" แหม! ง่ายจัง แต่เชื่อเหอะจะมีกี่คนที่จดจำและเข้ามาดู หรือบางทีคิดอยากมาดูกับจำไม่ได้ว่า ชื่อเว็บอะไร URL อะไรนะ? ไม่เป็นไร เดี๋ยวไปหาใน Google เอาก็ได้!

แต่พอเปิด Google ขึ้นมาเพื่อค้นหากับไม่เจอสักที มีแต่เว็บไซต์อื่นๆ เต็มไปหมด ทำไม Google ถึงไม่มีชื่อเว็บของเพื่อนเราเลยล่ะ? วันนี้ ผมมีคำตอบมาบอกกล่าวกันครับ

การทำ SEO เว็บไซต์

เว็บไซต์ค้นหาข้อมูลที่เรามักนึกถึงก่อนใครคือ Google แต่จริงๆ แล้วมันยังมีอีกหลายเจ้าที่ให้บริการทั้งที่เกิดก่อน Google และเกิดในภายหลัง เช่น Yahoo!, Bing, Ask ฯลฯ หรือจะเป็นของจีนอย่าง Baidu Search เป็นต้น แต่ที่เป็นที่นิยมมากสุดก็ Google นี่แหละ การที่จะทำให้เว็บไซต์ค้นหาเหล่านี้รู้จักเว็บไซต์เราเรียกว่า การทำ SEO เว็บไซต์ หรือ Search Engine Optimization นั่นเอง

เว็บไซต์โดยทั่วไปจะมีส่วนประกอบหลักๆ อยู่ 3 ส่วน คือ ส่วนหัว(Header)ส่วนเนื้อหา(Body)ส่วนท้าย(Footer)

SEO 01

ส่วนหัว Header คือ

บริเวณด้านบนสุดของหน้าเว็บไซต์ หรือแต่ละหน้า (Page) ซึ่งจะเป็นส่วนที่ใช้สำหรับแสดงชื่อของเว็บไซต์ โลโก้เว็บ ไปจนถึงแถบเมนูนำทาง (Navigation Bar) ที่เราจะสามารถทำจุดเชื่อมโยงหรือลิงก์ข้ามไปยังหน้าอื่นๆ บนเว็บไซต์เราได้นั่นเอง อีกทั้งในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่เราสามารถกำหนดหัวเรื่อง (Title) ของแต่ละหน้าเว็บไซต์ของเรา รวมถึงรูปแบบหรือสไตล์การแสดงผลต่างๆ ภายในเว็บไซต์ทั้งหมดได้อีกด้วย

ส่วนเนื้อหา Body คือ

ส่วนลำตัวหรือส่วนกลางของเว็บไซต์ ซึ่งจะเป็นพื้นที่สำหรับแสดงข้อมูลเนื้อหา (Content) รูปภาพประกอบต่างๆ ที่เราต้องการ ประกอบไปด้วยตัวหนังสือ บทความ ตารางข้อมูล รูปภาพ วิดีโอและอื่นๆ

ส่วนท้าย Footer คือ

ส่วนท้ายหน้า หรือส่วนล่างสุดของเว็บไซต์ มีไว้สำหรับใส่จุดเชื่อมโยงแถบนำทางหรือลิงก์เพื่อเข้าสู่หน้าอื่นๆ รวมถึงข้อมูลเฉพาะต่างๆ ที่อาจจะไม่ได้สำคัญมากนัก เป็นข้อมูลที่ต้องการให้แสดงในทุกหน้าเหมือนกัน สำหรับบอกเข้อมูลที่อยู่สำหรับติดต่อ คำแนะนำ ลิขสิทธิ์ ฯลฯ ก็สามารถนำมาใส่ในส่วนนี้ได้

       *ส่วนของ Footer จะมีหรือไม่มีบนเว็บไซต์ก็ได้

การทำ SEO ในส่วนหัวเว็บ

ในการทำเว็บไซต์แบบ Static ด้วยภาษา HTML นั้น จะมีโค๊ดที่ใช้งานกำหนดส่วนแสดงผลของเว็บไซต์ทั้ง 3 ส่วนข้างต้น ซึ่งในโค๊ดทั้ง 3 ส่วนนี้จะสามารถทำให้เว็บไซต์ค้นหาสามารถนำไปเก็บเป็นข้อมูลเมื่อมีผู้มาค้นหาได้ ตัวอย่างของโค๊ดในหน้าเพจเ ช่น

SEO 02

จากโค๊ด HTML ข้างต้น ถ้าเรามาดูส่วนหัว (Head) จะมีส่วนสำคัญสำหรับการทำ SEO อยู่ 3 ตำแหน่ง ประกอบด้วย

SEO 03

A ส่วน Title สำหรับการระบุชื่อหน้า หรือหัวเรื่องสำคัญในหน้านั้นภายใต้แท็ก title ดังตัวอย่างเป็นหน้าแรก เราเลยใส่ชื่อเว็บไซต์ทั้งภาษาไทย/อังกฤษ

SEO 04

หากเป็นหน้าอื่นๆ ถัดไปเราจะใช้ชื่อบทความ/เนื้อหาในหน้านั้น ตามด้วยชื่อเว็บไซต์ เช่น ปลาแดกกับความมั่นคงในชีวิตชาวอีสาน : IsanGate.com ระหว่างชื่อบทความกับชื่อเว็บไซต์เราจะคั่นด้วยเครื่องหมาย โคล่อน (:) หรือ เครื่องหมายลบ (-) ก็ได้

B ส่วนคำอธิบาย Decription สำหรับใส่คำอธิบายบอกรายละเอียดโดยย่อของเว็บไซต์ หรือเนื้อหาในหน้านี้ ใส่เป็นประโยคอธิบายความหมายได้ทั้งภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ หรือทั้งสองภาษาตามความถนัด ใส่ได้ยาวมากถึง 256 ตัวอักษร (จริงๆ แล้วเอาแค่สั้นๆ กระชับ สื่อความหมายก็พอแล้ว)

SEO 05

หากเป็นหน้าอื่นๆ หรือบทความอื่นให้ใช้คำอธิบายที่เกี่ยวกับบทความนั้นๆ มาใช้ โดยการสรุปให้ได้ใจความสั้นๆ กระทัดรัด ชัดเจนในความหมายของเรื่องนั้นโดยย่อ เช่นจากตัวอย่างเรื่อง "ปลาแดก" เราจะใช้คำอธิบายว่า "ปลาแดก หรือ ปลาร้า ในภาษากลาง นับเป็นอาหารหลักและเป็นเครื่องปรุงรสในวัฒนธรรมอาหารอีสานเกือบทุกประเภท และรับประทานได้ทุกมื้อ ซึ่งปลาแดกมีผลกับความมั่นคงในการดำรงชีวิตของชาวอีสาน"

C ส่วนคำหลัก Keyword เป็นส่วนที่เราจะใส่คำที่คาดว่าผู้ชมจะค้นหาเว็บไซต์เรา ใส่ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่ละคำคั่นด้วยเครื่องหมายคอมม่า (,) เลือกคำที่เกี่ยวข้องกับเว็บเราให้ครอบคลุมมากที่สุด เรียกว่าค้นหาด้วยคำเหล่านี้แล้ว จะต้องมีชื่อเว็บเรามาร่วมแจมด้วยแน่นอน อาจจะอยู่ในหน้าแรกหรือหน้าถัดไป ถ้ามีคนคลิกที่ลิงก์ในเว็บค้นหาบ่อยๆ ชื่อของเว็บไซต์เราก็จะขยับมาหน้าแรกๆ ในอีกไม่นาน

SEO 06

เช่นเดียวกัน เมื่อเราเขียนหน้าบทความหรือเนื้อหาอื่นๆ ก็จะต้องใส่คำหลัก หรืคำที่คาดว่าผู้ชมจะค้นหาบทความนั้นไว้เป็นคำที่ 1-3 แล้วค่อยต่อด้วยคำหลักของเว็บไซต์เรา เป็นต้น

เมื่อมีผู้คนค้นหาคำว่า "ประตูอีสานบ้านเฮา" เว็บไซต์ www.isangate.com ก็จะปรากฏในลำดับที่ 1

SEO 07

หรือการค้นหาด้วยคำ นกหัสดีลิงค์, ปลาแดก, ชาติพันธุ์ เว็บไซต์นี้ก็จะไปปรากฏในหน้าค้นหาของเว็บค้นหาด้วย

SEO 08

การทำ SEO ในส่วนเนื้อหา

การทำ SEO ในส่วนเนื้อหา ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพรา่ะบรรดาเว็บไซต์ค้นหา (Search Engine) ทั้งหลายนั้นนอกจากจะเก็บข้อมูลจากส่วนหัวเว็บใน Title, Description, Keyword แล้ว ยังเก็บข้อมูลจาก แท็กหัวเรื่องสำคัญ และเนื้อหาในย่อหน้าแรกของบทความด้วย

แท็กหัวเรื่องที่สำคัญ คืออะไร

การทำเว็บไซต์ให้มีความน่าสนใจนั้น เรามักจะทำหัวข้อให้สังเกตเห็นได้ง่าย มีขนาดและสีสันที่แตกต่างจากข้อความในส่วนที่เป็นเนื้อหาโดยทั่วไป ซึ่งจะใช้แท็ก H คร่อมระหว่างข้อความนั้น ไม่ใช่การกำหนดขนาดด้วย Font size นะครับ ดังภาพประกอบข้างล่าง

SEO 09

ผลที่ได้ คำสั่งแท็ก H หัวเรื่อง แต่ละขนาดจะมีผลในการเก็บไปของ Search Engine และแต่ละขนาดจะอยู่โดดเด่นแยบกกันคนละบรรทัดเลย ส่วนการใช้ขนาดฟอนต์ (Font size) การแสดงผลจะเรียงลำดับกันไปในบรรทัดเดียวกัน ต้องใช้คำสั่งย่อหน้า หรือขึ้นบรรทัดใหม่จึงจะแยกกัน Search Engine ไม่สนใจและมองว่าไม่สำคัญครับ

SEO 10

ตัวอย่างของการทำ SEO ในเว็บไซต์ประตูสู่อีสาน ในส่วนหัวเรื่อง และประโยคแรกในเนื้อหาบทความเรื่อง "ปลาแดก" จะใช้ทั้งในส่วนหัวเรื่อง (Title) เนื้อหาบทความย่อหน้าแรก และการทำคำอธิบาย (Description) และคำหลัก (Keyword) ที่สอดคล้องกันดังตัวอย่างในภาพข้างล่าง

SEO 12

เมื่อค้นหาจาก Microsoft Bing ก็จะได้ดังภาพ เพื่อให้เห็นว่า Search Engine เขาเก็บอะไรไปบ้างนะครับ

SEO 11

เอาเทคนิคเหล่านี้ไปใช้กันดูนะครับ ส่วนใน CMS อย่าง Joomla! ก็จะนำเทคนิคเหล่านี้แหละไปใช้งาน โดยการประยุกต์ให้เหมาะสมซึ่งมีรายละเอียดมากกว่าในเว็บไซต์ HTML อีก เดี๋ยวจะแยกไปเป็นอีกบทความหนึ่งครับ โปรดติดตามในหัวข้อเรื่อง CMS ชื่อบทความ การทำ SEO ใน Joomla! ได้เลยครับ

สนับสนุนให้ Easyhome อยู่รับใช้ท่านตลอดไป ด้วยการคลิกแบนเนอร์ไปเยี่ยมผู้สนับสนุนของเราด้วยครับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่เว็บไซต์ Easyhome in Thailand เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)