foto1
Internet & Security
foto1
Learn to build your website
foto1
Try to our Goal!
foto1
Tip & Tricks to use Computer
foto1
Operating System


Our Sponsor

side 1

Easyhome Group

krumontree200x75
isangate com 200x75
ppor 200x75
isangate net 200x75
 e mil

No. of Page View

blood donate

เมื่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดเชื่อมต่อกันทั้งโลก

นไอทียุคเก่า (ก่อน ค.ศ. 2000) คงจะจดจำกันได้ดีถึงความวิตกกังวลในสมัยนั้นว่า "เมื่อก้าวข้ามจาก ค.ศ. 1999 ไปสู่ ค.ศ. 2000 คอมพิวเตอร์ทั้งหลายอาจมีการทำงานผิดพลาด ที่เรียกกันว่าปัญา Y2K หมายถึง เมื่ออุปกรณ์ ICT ทั่วโลกเข้าสู่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2000 แต่ระบบกลับเข้าใจว่าเป็น ค.ศ. 1900 ทำให้การทำงานของระบบผิดเพี้ยนปั่นป่วน" มีการวางแผนแก้ไขปัญหากัน (จริงๆ มันก็แค่จัดเก็บ ตัวเลขปีค.ศ. ในอดีตที่เก็บ 2 หลัก มาเป็น 4 หลักทั้งหมดก็ใช้ได้แล้ว) แล้วก็ผ่านมาด้วยดีไม่มีปัญหาอะไร แต่ก็ทำให้ในวงการไอทีมองปัญหาในระยะยาวไว้ล่วงหน้ามากขึ้น ด้วยความเติบโตแบบก้าวกระโดดของจำนวนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เรานำมาใช้การเพิ่มมากขึ้นทุกวัน

IoT

ปัญหาที่พบในช่วงระยะเวลานั้นคือ หมายเลขไอพี (IP Address) ที่ใช้กำหนดเลขประจำเครื่อง (เหมือนบ้านเลขที่ของอุปกรณ์ไอทีทั้งโลก) กำลังจะหมดไป ไม่เพียงพอต่อการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ช่วงนั้นใช้ระบบหมายเลขไอพีเวอร์ชั่น 4 (IPv4) กันซึ่งไม่เพียงพอ ต่อมามีการประกาศขยับใช้เวอร์ชั่น 6 (IPv6) ก็ขายตัวรองรับได้มากขึ้น แต่เมื่ออุปกรณ์ทุกอย่างที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์กำลังมีความต้องการที่จะเชื่อมหากัน เพื่อให้สะดวกสบายแก่ผู้คนยุคดิจิตอล หมายเลขไอพี 6 ก็เข้าสู่ทางตันอีก คือไม่พอใช้งานแน่ๆ เราจะทำอย่างไร? ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับหมายเลขไอพีกันก่อนเลย

IP v คืออะไร?

IP ย่อมาจากคำว่า Internet Protocol แปลว่า ข้อตกลงในการเชื่อมโยงข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยการที่ใครก็ตามที่ใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตจะเชื่อมโยงข้อมูลหรือพูดคุยกันรู้เรื่องได้ จำเป็นต้องมี “รหัสเฉพาะตัว”

“รหัสเฉพาะตัว” ดังกล่าว เปรียบไปก็คล้ายกับหมายเลขบัตรประชาชน หรือเบอร์โทรศัพท์ของแต่ละคนนั่นเอง

“รหัสเฉพาะตัว” มีชื่อเรียกว่า IP Address หรือ Internet Protocol Address แปลว่า เลขหมายประจำอินเทอร์เน็ตของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายที่วิ่งอยู่บนระบบอินเทอร์เน็ตนั่นเองครับ

IPv4 ย่อมาจาก Internet Protocol Version 4 วัตถุประสงค์ตั้งต้นของ IPv4 ก็คือ การทำขึ้นเพื่อ “ศึกษา” ถึงระบบการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่าย โดยกำหนดให้มีกลุ่มหมายเลขจำนวน 4 ชุด และแต่ละชุดก็ประกอบด้วยตัวเลขจำนวน 3 หลัก ซึ่งมีรูปแบบดังนี้คือ xxx.xxx.xxx.xxx (x คือตัวเลขจาก 0-9) ก่อนที่ชุดตัวเลขดังกล่าวจะถูกแปลงเป็น URL หรือชื่อเว็บไซต์ที่เรารู้จักกันในเวลาต่อมานั่นเอง

" จากการทำ Internet Protocol สำหรับ “การศึกษา” แต่ระบบดังกล่าวกลับมีเสถียรภาพมาก ทำให้องค์กรธุรกิจนำ IPv4 ไปประยุกต์ใช้กับการทำงานเป็นจำนวนมาก จึงนำมาสู่ปัญหา IPv4 เต็ม ซึ่งหมายถึง การที่พวกเราได้ใช้ IPv4 หมดไปตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2010 "

ปัญหานี้ร้อนถึง IETF หรือ The Internet Engineering Task Force ซึ่งเป็น "องค์กรระหว่างประเทศ" ผู้ทำหน้าที่กำกับควบคุมดูแลเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จึงได้ลงมือพัฒนา Internet Protocol Version ใหม่ขึ้น เพื่อให้มาแทนที่ IPv4 ซึ่งก็คือ IPv6 ที่ใช้กันในปัจจุบันนั่นเองครับ

ipv4 vs ipv6 address

IPv6 ในเวลานั้น มีชื่อเล่นว่า Next Generation Internet Protocol หรือ IPNG นั้นก็ไม่มีอะไรมากไปกว่า การเพิ่มหลักหมายเลขให้กับ IPv4 จาก xxx.xxx.xxx.xxx มาเป็น xxxx:xxxx:xxxx:xxxx:xxxx:xxxx:xxxx:xxxx:

อานิสงส์การมาถึงของ IPv6 ก็มิใช่เอื้อประโยชน์ให้กับวงการ ICT เท่านั้น แต่แวดวงเครื่องใช้ไฟฟ้าก็จะได้รับประโยชน์โภชน์ผลไปเต็มๆ เช่นกันครับ เอ๊ะ! ยังไง???

เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่า ห้วงเวลานี้ คือ "ยุคทองของ IoT" หรือ Internet of Things ที่นอกจากอุปกรณ์ ICT ทั้งหลายจะมี IP Address แล้ว ต่อไปนี้ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องทำน้ำอุ่น ตู้เย็น ไมโครเวฟ แอร์ เครื่องปั๊มน้ำ เตาแก๊ส ปลั๊กไฟฟ้า และสวิตช์ปิด-เปิดดวงไฟในบ้าน ต่างก็จะมี IP Address กันทุกเครื่องครับ นั่นหมายความว่า เราจะสามารถสั่งให้เริ่มหรือหยุดการทำงานอุปกรณ์ทุกอย่างผ่านเครือข่ายได้นั่นเอง เช่น

สั่งเปิดเครื่องปรับอากาศภายในบ้านก่อนทีเราจะเข้าถึงบ้านสัก 5 นาที สั่งให้กาต้มน้ำร้อนหรือหม้อหุงข้าวเปิดทำงานขึ้นมา ก่อนที่เราจะมาถึงบ้านจะได้พร้อมชงกาแฟหรือรับประทานอาหารด้วยข้าวสวยร้อนๆ หรือกรณีออกจากบ้านแล้วลืมปิดโทรทัศน์ ก็แค่สั่งงานผ่านมือถือมาปิดได้โดยไม่ต้องย้อนกลับเข้าบ้านให้เสียเวลาเป็นต้น

china ipv9 future of iot 1068x561

การดูแลหมายเลขไอพีทั้งสองเวอร์ชั่น (IPv4, IPv6) นี้ทางองค์การสหประชาชาติได้มอบหมายให้อยู่ในการดูแลและกำกับโดย รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะสิ้นสุดระยะเวลาในปี ค.ศ. 2020 นี้ หลังจากกระแสปัญหา Y2K ในปี ค.ศ. 1999 เป็นต้นมา ทางรัฐบาลจีนได้ริเริ่มพัฒนา IPv9 ขึ้นมาเพื่อขยายจำนวนหมายเลขไอพีให้เพิ่มมากขึ้น ได้ทดลองใช้งานในประเทศจีนเอง และออกข้อกำหนดมาตรฐานต่างๆ ทดสอบจนเป็นที่แน่ใจว่า IPv9 หรือมีชื่อเต็มว่า Internet of Things IPv9 พร้อมใช้งานแล้ว

" ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ได้ลงมติสนับสนุนการลงทุน IPv9 ของ “รัฐบาลจีน” โดยยืนยันการลงนามสัญญา "มอบสิทธิดูแลเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโลกเป็นเวลา 100 ปี" ให้กับ “รัฐบาลจีน” ทันทีที่สัญญาฉบับปัจจุบันที่สหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าของสิทธิสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 2020 "

IPV9

ซึ่งในขณะนี้ “รัฐบาลจีน” ได้ตระเตรียมกองทัพ Server และก่อสร้างสถานีรับ-ส่งสัญญาณทั้งหมดอย่างเต็มรูปแบบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ มีประเทศต่างๆ ก็สนใจเข้าร่วมโครงการ IPv9 และลงนามในสัญญาเช่ากับจีนแล้วมากถึง 25 ชาติ

" โดยเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา “รัฐบาลจีน” เริ่มทดลองใช้งาน IPv9 อย่างเต็มรูปแบบแล้ว รอเพียงการเปิดตัว IPv9 ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2021 ทันทีที่สิทธิในสัญญาเช่าระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหประชาชาติหมดลง ในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2020 ก็จะปิดการใช้งาน IPv4 ทั่วโลก ณ วันนั้นด้วย "

 

สนับสนุนให้ Easyhome อยู่รับใช้ท่านตลอดไป ด้วยการคลิกแบนเนอร์ไปเยี่ยมผู้สนับสนุนของเราด้วยครับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่เว็บไซต์ Easyhome in Thailand เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)