foto1
Internet & Security
foto1
Learn to build your website
foto1
Try to our Goal!
foto1
Tip & Tricks to use Computer
foto1
Operating System


Our Sponsor

side 1

Easyhome Group

krumontree200x75
isangate com 200x75
ppor 200x75
isangate net 200x75
 e mil

No. of Page View

blood donate

macOS X (Apple Inc.)

macOS คือระบบปฏิบัติการที่เป็นหัวใจสำคัญของ Mac ทุกเครื่อง ซึ่งจะช่วยให้คุณทำสิ่งต่างๆ ได้ในแบบที่คุณจะไม่มีวันพบจากคอมพิวเตอร์เครื่องไหนๆ นั่นเป็นเพราะ macOS และฮาร์ดแวร์ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อทำงานร่วมกันโดยเฉพาะ และ macOS เองก็มาพร้อมแอพมากมายที่ล้วนออกแบบมาอย่างสวยงาม นอกจากนี้ยังทำงานควบคู่กับ iCloud ในการทำให้รูปภาพ เอกสาร และไฟล์ประเภทอื่นๆ บนอุปกรณ์ทุกเครื่องของคุณตรงกันและอัพเดทอยู่เสมอ ผลก็คือ Mac ของคุณจะสามารถทำงานร่วมกับ iPhone และอุปกรณ์ Apple อื่นๆ ได้อย่างน่ามหัศจรรย์ ยิ่งกว่านั้นยังผ่านกระบวนการคิดและ คำนึงถึงความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยเป็นสำคัญอีกด้วย

Macintosh 01

แมคโอเอส (อังกฤษ: macOS) ก่อนหน้าเรียกว่า แมคโอเอสเท็น (อังกฤษ: Mac OS X) ถึงปี 2554 และ โอเอสเทน (อังกฤษ: OS X) ถึงปี 2559 เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นล่าสุดในตระกูล แมคโอเอสสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช วางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2001 ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ แกนกลาง ดาร์วิน (Darwin) ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมการทำงานแบบยูนิกซ์ที่เป็นโอเพนซอร์ส และส่วนติดต่อผู้ใช้แบบ อควา (Aqua) ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทแอปเปิล

Apple Inc. ยังได้สร้างแมคโอเอสรุ่นปรับปรุง เพื่อนำไปใช้ในอุปกรณ์ของตัวเองอีก 5 ตัวได้แก่ AppleTV, iPhone, iPod, iPad, iWatch โดยที่ iPhone, iPod, iPad จะใช้รุ่นของแมคโอเอสที่เรียกว่า iOS ซึ่งระบบปฏิบัติการที่แก้ไขนี้จะมีแต่สิ่งที่จำเป็นเท่านั้น ไดรเวอร์และส่วนประกอบอื่นที่ไม่จำเป็นจะถูกนำออกไป ส่วน AppleTV และ iWatch จะมีการพัฒนาแยกออกมาต่างหาก

การเรียกชื่อระบบปฏิบัติการของแอปเปิล

ครั้งก่อนในช่วงใช้ชื่อ OS X นั้น โดยตัวอักษร "X" หมายถึงเลขสิบในระบบโรมัน และอ่านออกเสียงว่า "เท็น" (Ten, แปลว่า "สิบ" ในภาษาอังกฤษ) แสดงถึงรุ่นที่ต่อมาจากแมคโอเอสตัวก่อนหน้าคือ แมคโอเอส 9 นอกจากนี้ตัวอักษร X ยังแสดงถึงความเป็นยูนิกซ์ (UNIX) ในตัวระบบปฏิบัติการด้วย

macOS 01

แอปเปิลเองได้มีวิธีการเรียกชื่อแมคโอเอสเท็นถึงสามวิธี

  • Mac OS X v10.4 บอกเฉพาะเลขรุ่น (หมายเหตุ: ต้องมีอักษร v ด้วยเสมอ)
  • Mac OS X Tiger บอกเฉพาะรหัสในการพัฒนา
  • Mac OS X v10.4 "Tiger" บอกทั้งเลขรุ่นและรหัสในการพัฒนา

สังเกตว่า "รหัสในการพัฒนา" นั้นจะเป็น "ชื่อสัตว์ในตระกูลเสือ" มาจนถึง OS X 10.8 "Mountain Lion"

แต่ในตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา OS X จึงได้ใช้ชื่อเรียกจากตระกูลเสือนั้น มาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยเริ่มจาก OS X Mavericks ก่อน แล้วใช้แบบนั้นเรื่อยมาจนถึง macOS Mojave

ต่อจากนั้น ในงาน WWDC 2016 ทางบริษัทแอปเปิลได้ทำการเปลี่ยนชื่อจาก OS X เป็น macOS ให้สอดคล้องกับ iOS, tvOS, watchOS และสามารถเรียกได้ง่ายขึ้น ซับซ้อนน้อยลง แต่ยังคงใช้โค๊ดเนมในสถานที่ท่องเที่ยวที่ รัฐแคลิฟอร์เนีย อยู่เช่นเคยโดยเริ่มต้นที่ macOS Sierra

macOS 02

ในยุคแรกนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ของแมคจะใช้ CPU ตระกูล PowerPC ของ IBM เป็นหลักและซอฟท์แวร์ระบบปฏิบัติการก็เขียนขึ้นเป็นการเฉพาะ จนเมื่่อปี 2006 แอปเปิลได้หันมาใช้ CPU ในตระกูล x86 ของ Intel แทนจนถึงปัจจุบัน ทำให้การพัฒนาซอฟท์แวร์ต้องเปลี่ยนโครงสร้างอีกครั้ง แต่ก็ยังเป็นระบบปฏิบัติการแบบ 64 บิตอยู่เหมือนเดิม (ซึ่งน่าจะทำให้ระบบมีความเสถียรและทำงานแบบ Multitasking ได้เหนือกว่าวินโดว์ ภายหลังไมโครซอฟท์จึงพัฒนาระบบปฏิบัติการแบบ 64 บิตตามมาบ้าง) และปี 2018 มีข่าวลือว่า แอปเปิลเตรียมเปลี่ยน CPU ของเครื่องคอมพิวเตอร์ตระกูลแมค จากปัจจุบันใช้ CPU Intel มาเป็น CPU ตระกูล A ของแอปเปิลที่ออกแบบเองในปี 2020 เป็นอย่างเร็ว

โครงการนี้มีโค้ดเนมว่า Kalamata อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์ใหญ่ที่ผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลทั้งหมด จะต้องทำงานร่วมกันได้อย่างไร้รอยต่อ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลทุกตัวไม่ว่าจะเป็น iPhone, iPad, Apple Watch, Apple TV ต่างใช้ CPU ที่ออกแบบและผลิตโดยแอปเปิลหมดแล้ว เหลือเพียงคอมพิวเตอร์ตระกูลแมคอินทอชเท่านั้นที่ยังใช้ซีพียูของบริษัทอื่นอยู่ อย่างไรก็ตาม ไม่มีการยืนยันว่าแอปเปิลจะเดินหน้าตามแผนนี้ 100% และอาจยกเลิกหรือเลื่อนออกไปอีก

macOS 03

เมื่อปลายปีที่แล้ว Bloomberg เคยรายงานข่าวลือของโครงการ Marzipan ที่จะรวม App Store ของ iOS และ macOS เป็นหนึ่งเดียวกัน และเปิดให้รันแอพจาก iOS บนเครื่องแมคได้ โดยเครื่องแมคบางรุ่นในช่วงหลังเริ่มมี co-processor ที่เป็นสถาปัตยกรรม ARM ใส่เข้ามาแล้ว ต้องรอติดตามกันต่อไปครับ

มีคำถามจากหลายๆ คนว่า ใช้คอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการไหนดีกว่ากัน? คำตอบต่อไปนี้ของผม เป็นคำตอบในฐานะที่ไม่ใช่สาวกของค่ายใด และเคยใช้มาทั้ง Windows, macOS, Linux ตอบฟันธงลงไปไม่ได้ง่ายๆ ดอกครับ มันมีเงื่อนไขที่ต้องนำมาเทียบกัน เช่น การใช้งานทั่วไป (อินเทอร์เน็ต โซเชียล ติดต่อสื่อสาร งานเอกสารนิดหน่อย) การใช้งานด้านเอกสารสิ่งพิมพ์ การใช้งานด้านตกแต่งภาพ การใช้งานด้านตัดต่อมัลติมีเดีย การเขียนโปรแกรม ทุกงานต้องการความเสถียรของระบบแตกต่างกัน รวมทั้งซอฟท์แวร์ที่เลือกใช้ก็มีต่างกันด้วย

  • ถ้าเป็นการใช้งานทั่วไป ทุกระบบปฏิบัติการไม่ได้แตกต่างมากจนเป็นเงื่อนไขได้ มีซอฟท์แวร์ครอบคลุมเพียงพอทั้งหมด ส่วนตัวล้วนๆ ชอบหรือถนัดระบบไหนก็เลือกใช้งานได้ตามสะดวก ถ้าเทียบความยากง่ายในการใช้งานก็คงให้เรียงลำดับ Windows, macOS, Linux (เพราะถ้ามีปัญหาการใช้งานถามคนรอบตัวก็มีคำตอบง่ายกว่าไงครับ)
  • ถ้าเป็นงานเอกสารสำนักงานทั่วไป (Word, Excel, Powerpoint) ฝั่งวินโดว์ดูจะใช้งานง่ายและมีคนใช้งานเยอะ ถามปัญหาการใช้งานจากคนข้างเคียงได้ง่ายกว่า แต่ซอฟท์แวร์นำเสนออย่างเพาเวอร์พอยต์นั้นในความเห็นผมยังห่างชั้นจาก Keynote ของค่ายผลไม้อยู่นะ งานเอกสารบนแม็คกับลีนุกซ์นั้นมีคนอ้างว่ามันแลกเปลี่ยนงานกับคนใช้วินโดว์ไม่ค่อยได้ อันนี้ก็ไม่จริง เพราะแม่แต่ชุด MS Office เองคนละเวอร์ชั่นส่งให้กันก็ยังเพี้ยนอยู่ดี ผมว่าง่ายสุดส่งให้เป็นไฟล์ PDF เถอะถ้าอยากให้ไม่เพี้ยน
  • งานด้านออกแบบสิ่งพิมพ์ คงต้องยกให้กับค่ายผลไม้ไปครับ ของเขาดีจริง ละเอียดชัดเจนทุกมิติ ทั้งความสวยงาม สีสันถูกต้อง ส่งทำเพลตได้ทันทีสำหรับโรงพิมพ์ รองลงมาก็ของฝั่งวินโดว์เขาละ ก็จำนวนคนใช้งานเยอะกว่านี่
  • งานด้านตกแต่งภาพ ตัดต่อมัลติมีเดีย คงต้องยกให้ทางฝั่งค่ายผลไม้เขาไป ด้วยความเสถียรของระบบ การจัดการหน่วยความจำ และมีซอฟท์แวร์ดีๆ มากกว่า เราจะเห็นใน Studio ต่างๆ ทั้งด้านภาพและเสียงใช้เครื่อง Mac ของ Apple กันมากกว่า
  • ด้านการเขียนโปรแกรม ดูจะพอๆ กันนะครับ ว่ากันว่าคนที่ชำนาญกับการเขียนคำสั่ง ใช้คำสั่งส่วนมากก็นิยมใช้ลีนุกซ์กันมาก เว้นแต่คนที่เขียนโค๊ดที่ต้องใช้สภาพแวดล้อมบนวินโดว์ ที่ต้องใช้ระบบปฏิบัติการวินโดว์กันไป ด้วยความเสถียรของระบบฝั่งแม็คก็มีคนใช้งานไม่น้อยครับ
  • ลีนุกซ์นิยมใช้กันน้อยไปไหม ใช่ครับถ้าเป็นระดับผู้ใช้งานทั่วไป แต่ถ้าเป็นงานระดับที่ใช้งานด้วยทักษะสูงขึ้นหรือบนระดับเครือข่าย ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์มีการใช้งานเยอะกว่าฝั่งวินโดว์นะ ด้วยความที่เป็น Opensource ใช้งานได้ไม่มีค่าใช้จ่าย มีการพัฒนาเรื่องระบบความปลอดภัยที่ดีกว่า ในองค์กรขนาดใหญ่ใช้กันมาก แต่ผู้ใช้งานอาจจะไม่รู้ตัวว่าใช้งานลีนุกซ์อยู่ เพราะมีหน้ากากซอฟท์แวร์ครอบไว้ให้ใช้งานง่ายๆ เหมือนวินโดว์

ก็เลือกใช้งานตามสะดวกนะครับ บางคนบอกว่าใช้วินโดว์สิถูกกว่า เห็นไหมโน้ตบุ๊คราคาแค่หมื่นกว่าบาทก็มีใช้ได้เหมือนกัน แต่พอเป็นแม็คบุ๊คราคาสี่ห้าหมื่นขึ้นไปทั้งนั้น ถ้าคิดเปรียบเทียบง่ายๆ แบบนี้ก็ไม่ถูกนะครับ เพราะ

  • เครื่องคอมพิวเตอร์มันมีหลายระดับ เช่น Consumer (การใช้งานทั่วไป), Workstation (การใช้งานระดับอาชีพ), Industrial or Military (การใช้งานภาคสนาม/อุตสาหกรรม) ที่มีความทนทานต่างกันมาก เอามาเทียบกันไม่ได้ (ให้หลับตานึกถึงรถ Eco Car กับ SUV จะได้เห็นภาพยิ่งขึ้น)
  • เครื่องแม็คของแอปเปิ้ล จะผลิตออกมาให้อยู่ในระดับ Workstation ขึ้นไป อุปกรณ์จะถูกคัดเลือกอย่างเข้มงวดมากกว่า การใช้งานจึงทนทานและมีราคาสูง เมื่อเทียบกับฝั่งโน้ตบุ๊ควินโดว์ที่อยู่ในระดับ Workstation ของหลายๆ ยี่ห้อก็ราคาระดับสี่ห้าหมื่นเช่นกันครับ ถ้าเป็นระดับการใช้งานภาคสนามโน้ตบุ๊ควินโดว์ก็มีราคาเป็นแสนเหมือนกันนะ อย่าดูแต่ CPU, RAM, HDD ที่เขาเอามาโฆษณาเท่านั้น เราต้องดูโครงสร้างตัวเครื่อง (วัสดุพลาสติกแข็ง กับอลูมิเนียม ความทนทานต่างกันเยอะ) ความละเอียดของจอแสดงผล ความสว่างของจอ (สู้แสงจ้า) ด้วย รวมทั้งการทดสอบด้านต่างๆ เปรียบเทียบกัน
  • เครื่องแบบตลาดๆ (Consumer) มันก็เหมาะกับงานทั่วๆ ไป ไม่ได้ใช้งานหนักเปิดทั้งวัน ตัดต่อวีดีโอยาวๆ เป็นชั่วโมง ซึ่งเครื่องพวกนี้ทำงานได้ไหม ได้แต่... อาจจะดับ รีสตาร์ท หรือถึงขั้นน็อกไปเลยก็มีนะ งานการเสียหายหมดต้องมานั่งเริ่มทำงานใหม่ ได้ไม่คุ้มเสียครับ

ani artline

สนับสนุนให้ Easyhome อยู่รับใช้ท่านตลอดไป ด้วยการคลิกแบนเนอร์ไปเยี่ยมผู้สนับสนุนของเราด้วยครับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่เว็บไซต์ Easyhome in Thailand เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)