Easyhome 2010
Ads 468x60
Review Programs Navigation Bar
Home Basic HTML Review Software More Tip & Tricks Download Software Site Map

Open Source World
bl1Webmaster Talk
bl1Open Source
bl1Free Software
bl1Thai Opensource

 

 
 
ADS 250x250
 
ADS 250

Talk of the day!!!!!

นุสรณ์ พจน์พิพัฒน์ โปรแกรมสำนักงาน Pladao Office 1.0 สัญชาติไทยครับ

ราได้ทดลองใช้โปรแกรมชุดสำนักงานที่ดีและฟรีกันมาแล้วระยะหนึ่ง มีผู้คนและสื่อแขนงต่างๆ กล่าวขวัญถึงกันมากมาย ขอบอกขอบใจ บริษัท ซันไมโครซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) กันยกใหญ่ แต่จะมีใครสักคนนึกถึงทีมพัฒนาที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ วันนี้ผมในฐานะผู้ใช้งานคนหนึ่งที่ประทับใจในการใช้งานโปรแกรมชุดปลาดาวออฟฟิศ จึงขอนำเรื่องราวของหัวหน้าทีมพัฒนามาเล่าสู่กันฟังครับ

นุสรณ์ พจน์พิพัฒน์ : ผู้อยู่เบื้องหลังปลาดาวออฟฟิศ

โดย ไพเราะ เลิศวิราม : นิตยสารผู้จัดการ (พฤษภาคม 2545)

ว่าจะมาเป็นโปรแกรมเมอร์ ที่เป็นกำลังสำคัญพัฒนาโปรแกรม "ปลาดาว" และถูกเลือกให้เป็น 1 ใน 25 นักธุรกิจรุ่นใหม่ ที่ประสบความสำเร็จของเอเชีย นุสรณ์เคยใช้ชีวิตเป็นนักดนตรีที่มีรายได้เพียงเดือนละ 4 พันบาท

ก่อนหน้าจะมาใช้ชีวิตเป็นโปรแกรมเมอร์มืออาชีพเต็มตัว นุสรณ์ใช้ชีวิตเป็นนักดนตรีสลับกับการทำงานโปรแกรมเมอร์ในบริษัทอยู่หลายปี นุสรณ์เล่นดนตรีมาตั้งแต่เป็นนักเรียนมัธยม ที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล จากนั้นบินไปเรียนต่อด้านคอมพิวเตอร์ไซน์ ที่ Leney College มหาวิทยาลัยเล็กๆ ในสหรัฐอเมริกา

หลังจากเรียนจบ เขาทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์ในบริษัทเอกชน ขณะเดียวกันก็ใช้ชีวิตเป็นนักดนตรี เคยร่วมอยู่ในทีมทำเพลงประกอบภาพยนตร์ คนเลี้ยงช้าง ออกอัลบั้มร่วมกับชักกี้ ธัญรัตน์ แอนด์บลูแพลเน็ท จนกระทั่งได้มาเป็นมือคีย์บอร์ด ให้กับวง The Olarn Project

นุสรณ์ใช้เวลา 2 ปี กับการเล่นดนตรีประจำที่ร็อกผับ ที่เล่นแนวเฮฟวี่ฮาร์ดร็อก อาทิตย์ละ 2 วัน มีรายได้เดือน ละ 4,000 บาท แม้จะได้ทำงานที่ชื่นชอบ แต่เมื่อรายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย ทำให้เขาต้องกลับมาทบทวนตัวเองอีกครั้ง

"ผมบอกตัวเองอย่างนี้ไม่ไหว" นุสรณ์เล่า "อย่าว่าแต่ค่าน้ำมันรถเลย ผมต้องกินหมี่จังทุกวัน เพราะมันถูกกว่ายี่ห้ออื่นๆ"

จากนั้นเขาก็ตัดสินใจยุติอาชีพนักดนตรี และหันกลับไปใช้ชีวิตเป็นโปรแกรมเมอร์อีกครั้ง "ผมเป็นคนมีเป้าหมาย ทำอะไรแล้ว ก็ต้องทำให้เต็มที่ จึงต้องเลือก"

เป้าหมายของเขาในการเป็นโปรแกรมเมอร์ คือ การมีทีมงานที่จะเขียนโค้ดร่วมกัน แทนที่จะต่างคนต่างพัฒนาไม่สนใจที่จะแชร์ความรู้ร่วมกัน ระหว่างนั้น ไมโครซอฟท์มีแผนที่จะพัฒนาโปรแกรมออฟฟิศ 95 ให้เป็นภาษาไทย เขาได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ในทีมงานคนไทย ที่ต้องบินไปทำงานในสำนักงานใหญ่ไมโครซอฟต์ที่เมืองเรดมอนด์ ใช้เวลาพัฒนา 5 เดือน บินกลับมาพัก 1 เดือน จากนั้นบินกลับไปทำงานต่ออีก 2 เดือน

นุสรณ์ได้เข้าร่วมเป็นทีมพัฒนาโปรแกรม Window 95 service release 1 ให้เป็นภาษาไทย เขายังเป็นผู้พัฒนาโปร แกรม Internet explorer 2.0 ภาษาไทย ซึ่งเป็นเบราเซอร์ภาษาไทยตัวแรก

หลังประสบการณ์ครั้งนี้ เขาจึงได้เลือกให้เข้าร่วมในการพัฒนาโปรแกรมออฟฟิศ 95 ภาษาเวียดนาม ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญ ที่ทำให้เขาได้รับเลือกจากไมโครซอฟท์ให้เป็น Developer lead พัฒนาโปรแกรมออฟฟิศ 97 เป็นภาษาไทย ทำงานร่วมกับคนไทยอีก 18 คน

จนกระทั่งไมโครซอฟท์มีแนวคิดที่ต้องการรวมโค้ดภาษาไทยเข้ากับโปรแกรม ออฟฟิศ เรียกว่ามีซีดีแผ่นเดียว ก็สามารถใช้ภาษาอะไรก็ได้ ครั้งนี้ไมโครซอฟท์ไม่ต้องการจ้างเขาเป็นโปรเจกต์เหมือนเคย แต่ต้องการให้ทำงานเป็นพนักงานประจำอยู่ที่สำนักงานใหญ่

นอกเหนือจากเงินเดือนประจำ หุ้น อีกพันกว่าหุ้นของไมโครซอฟท์แล้ว บวก กับข้อเสนอของไมโครซอฟท์อีกคือ หลังจากทำงานครบ 3 ปี ไมโครซอฟท์จะช่วยทำใบอนุญาตทำงานในสหรัฐฯ ตลอดชีพ หรือกรีนการ์ด

"พอมาถึงตรงนี้ผมก็มานั่งคิด เมืองไทยเวลานั้นก็กำลังแย่ แต่ไมโครซอฟท์ขายโปรแกรมออฟฟิศ ได้ 600 ล้านบาท และเงินนั้นก็ส่งกลับไปอเมริกา"

นุสรณ์ตัดสินใจปฏิเสธข้อเสนอของไมโครซอฟท์ในครั้งนั้น มีคนถามผมว่า "แล้วจะทำอะไรต่อ" ความคิดของเขาเวลานั้น คือ "ต้องการเห็นโปรแกรมภาษาไทย เช่นเดียวกับ CU-word หรือ ราชวิถีเวิร์ด หรือ RW-word เหมือนอย่างที่เคยมีมาในอดีต"

เขาตัดสินใจนำเงินเก็บสะสมที่มีอยู่ ตั้งบริษัทพัฒนาโปรแกรม ทำได้ไม่ถึง 1 ปี เต็มดี ก็ต้องปิดกิจการ "เวลานั้นยังจับต้นชนปลายไม่ถูก" นุสรณ์ให้เหตุผล

นุสรณ์กลับมาตั้งต้นการเป็นลูกจ้าง อีกครั้ง เขากลับมาทำงานอยู่ในทีมพัฒนาโปรแกรมแบบสำรวจทางการเมืองให้กับพรรคประชาธิปัตย์ ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แต่ทำอยู่ได้ไม่นานก็ต้องออก เนื่องจากหัวหน้าทีมพัฒนา คือ ธวัช วิชัยดิษฐ์ เสียชีวิต

"ตอนนั้นมีเงินเหลืออยู่ 5,000 บาท กับคอมพิวเตอร์ 3 เครื่อง" นุสรณ์ใช้อุปกรณ์ที่เหลืออยู่กลับมารับงานโปรแกรมเมอร์อีกครั้ง ได้งานพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้กับ ตู้สติ๊กเกอร์ ใช้เวลาพัฒนา 2 เดือน ได้เงินมา 2 แสนบาท

พอดีกับมีผู้แนะนำให้ไปพัฒนาปรับปรุงระบบขายตั๋วออนไลน์ผ่านคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ให้กับโรงหนังอีจีวี เมื่อมีงานเข้ามากขึ้น เขาจึงตัดสินใจเปิดบริษัทอีกครั้ง และที่มาของ บริษัทอัลกอริธึมส์ ก็เริ่มต้นขึ้นจากทีมงาน 4 คน

จากนั้นก็ขยับขยายมาตั้งสำนักงาน บนตึกซอฟต์แวร์ปาร์ค และหันมาเอาดีกับการพัฒนาโปรแกรมเกมกราฟิก ได้งานพัฒนาโปรแกรมเกมให้เป็นภาษาไทย มีทั้งหมด 6 เกมที่วางขายอยู่ในตลาด เช่น ฟาโรห์ คลีโอพัตรา เลโก้เลเซอร์ เลโก้ครีเอเตอร์ เป็นต้น

แม้ธุรกิจจะเริ่มไปได้ดี แต่ความคิดในการพัฒนาภาษาไทยยังคงอยู่ พอดีกับช่วงเวลานั้น บริษัท ซันไมโครซิสเต็มส์ ออกโปรแกรมสตาร์ออฟฟิศให้ดาวน์โหลดใช้ฟรี นุสรณ์จึงติดต่อไปทางซันไมโครซิสเต็มส์ เพื่อขอพัฒนาโปรแกรมสตาร์ออฟฟิศ ให้เป็นภาษาไทย

"ผมขอทำฟรี แต่มีข้อแม้ว่า ทาง ซันต้องแจกฟรี" นุสรณ์บอก

ปรากฏว่า สำนักงานของซันในไทย สนใจแนวคิดของเขา แต่ใช้วิธีเปิดคัดเลือกทีมงาน ผลปรากฏคือ ทีมงานอัลกอริธึมส์ได้รับคัดเลือก ซึ่งน่าจะมาจากประสบการณ์ในการพัฒนาโปรแกรมออฟฟิศของไมโครซอฟท์ของเขา

แต่สำหรับส่วนตัวนุสรณ์ งานครั้งนี้ท้าทายมากกว่าในอดีต เพราะสิ่งที่เขาต้องทำ ก็คือ การพัฒนาโปรแกรมสตาร์ออฟฟิศให้สามารถทำงานอยู่บนระบบปฏิบัติการ 3 ประเภท คือ ไมโครซอฟท์วินโดว์ โซราลิส และลีนุกซ์

เขาใช้เวลากว่า 6 เดือน จนกลายมาเป็นโปรแกรมปลาดาวออฟฟิศ หรือ สตาร์ออฟฟิศ ภาคภาษาไทย ที่ให้ทดลองใช้ก่อนจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการ

"ประสบการณ์ของผมคือ การที่ต้องทำงานให้ได้ทั้ง 3 platform นี่คือ ความยาก"

แม้โปรแกรมปลาดาวจะเสร็จสมบูรณ์ แต่นุสรณ์และทีมงานยังต้องทำงานต่อเนื่องไปอีก 1 ปีเต็มตามข้อตกลง เพื่อดูแลระบบและปรับปรุงแก้ไข เนื่องจาก หลังจากให้ใช้ฟรีแล้ว ซันจะเปิด เว็บไซต์ปลาดาว เป็นคอมมูนิตี้ที่จะเปิดรับข้อเสนอปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง

"ความต่อเนื่อง" เป็นเรื่องสำคัญ แผนต่อไปของเขาก็คือ การพัฒนาโปรแกรมปลาดาวให้สามารถใช้กับระบบปฏิบัติการของแมคอินทอช

ก่อนหน้านี้เขาได้รับคัดเลือกจากนิตยสารเอเชียวีค ให้เป็น 1 ใน 25 ผู้บริหารธุรกิจรุ่นใหม่ในเอเชีย ซึ่งในจำนวนนั้นมีทั้ง ดร.กนกวรรณ ว่องวัฒนะสิน, โชค บูลกุล การได้รับคัดเลือกในครั้งนั้นจึง เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจ

"มีคนถามผมว่า คิดว่าอะไรทำให้ผมได้รับเลือก" นุสรณ์เล่า "อาจจะเป็นเพราะผมเป็นคนประหลาด ผมเป็นประเภทเฮฟวี่ เมททัล" เขาเปรียบเปรยบุคลิกตัวเองเหมือนกับแนวเพลง ที่ทำให้เขาแตกต่างไปจากโปรแกรมเมอร์ทั่วไป แม้กระทั่งในการพัฒนาโปรแกรมปลาดาว "ผมไม่สนใจว่า ซันจะยังไงก็ตาม ผมไม่ได้ทำเพราะอยากได้เงิน ผมพูดบนเวทีเลยว่า ถ้าซันยืนยันจะแจกฟรี ผมก็จะดูแลโปรแกรมปลาดาวไปตลอด"

"และต่อให้ผ่านไปอีก 10 ปีข้าง หน้า หรือไม่มีคนใช้เลย ผมก็ยังดูแลคอมมูนิตี้ ดูแลโปรแกรมตัวนี้อยู่" นี่คือความคิดของเขาวันนี้ นุสรณ์กลายเป็นที่รู้จัก เป้าหมายและโอกาสของเขามีมากขึ้น และนั่นจะเป็นบทพิสูจน์อีกครั้งของเขา

aเรื่องนี้ ยังไม่จบเพียงแค่นี้หรอกนะ

ในอดีตโปรแกรมเมอร์คนนี้เคยเป็นแกนหลักในทีมงานพัฒนา MS Office ภาษาไทยในยุคแรกๆ ปัจจุบันเค้าออกมาตั้งบริษัทพัฒนาระบบภาษาไทยบน WindowCE และสิ่งนี้ก็เป็นรายได้หลักของบริษัท เมื่อเริ่มโปรเจกท์ "ปลาดาว" ขึ้นมาก็ได้รับการสนับสนุนจาก SUN Micro Systems โดยทางซันได้ให้เงินสำหรับการพัฒนาทั้งหมด 4 ล้านบาท (แต่ได้ยินมาว่าใช้ไปจริงๆ ประมาณ 5 ล้านกว่าบาท ที่เกินก็เป็นการควักเนื้อนะครับ)

คราวนี้เรื่องมันก็มีอยู่ว่าทาง Microsoft ประเทศไทยได้เรียกตัวโปรแกรมเมอร์คนนี้เข้าไปคุย โดยทางไมโครซอพท์มีความต้องการที่จะให้หยุดพัฒนาโปรแกรมปลาดาวในเวอร์ชั่นต่อๆ ไปซะ เพราะเล็งเห็นแล้วว่า ในอนาคตจะมีผลกระทบค่อนข้างมากกับ MS Office อย่างแน่นอน ซึ่งโปรแกรมเมอร์ท่านนั้น ก็ไม่ยินยอมที่จะตกลงด้วย ทางไมโครซอพท์จึงยุติการเจรจา แล้วใช้วิธีบีบแทน ด้วยการทุบหม้อข้าวของโปรแกรมเมอร์ท่านนี้ โดยออกนโยบายสำหรับ WindowCE ขึ้นมาโดยเฉพาะ คือ ไมโครซอพท์จะให้เงินสนับสนุนพิเศษสำหรับผู้ที่เลือกใช้ระบบภาษไทยของ WindowCE ที่พัฒนาโดยบริษัทต่างๆ ทุกบริษัท ยกเว้นบริษัทของโปรแกรมเมอร์ท่านนี้

เป็นที่รู้กันว่าถ้าพัฒนาโปรแกรมปลาดาวต่อไปเรื่อยๆ มันก็จะเป็นโปรแกรมที่ดีตัวหนึ่ง และช่วยให้ประเทศไทย ลดค่าใช้จ่ายเรื่องค่าลิขสิทธิ์ของ MS Office ไปได้มากทีเดียว ( เคยเห็นหนังสือพิมพ์ลงไว้คร่าวๆ ว่า ปีละสองพันกว่าล้าน ) แล้วอย่างนี้จะมีใครออกมาช่วยเหลือโปรแกรมเมอร์ท่านนี้ที่โดนบริษัทต่างชาติรังแกมั่งไหมครับ ???

ผลประโยชน์ของประเทศชาติมากมายอย่างนี้ รัฐบาลเคยสนใจที่จะมองบ้างไหม เงินเพียงแค่สี่ล้านบาท ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายกว่า 2 พันล้านบาทได้ ที่น่าสลดใจก็คือ ไอ้เงินแค่สี่ล้านบาทนั้น มันก็ดันมาจาก SUN ซึ่งก็เป็นบริษัทเอกชนแถมเป็นต่างชาติอีกต่างหาก อาจจะมีคนถามว่าแล้ว NECTEC ละทำอะไรอยู่ เห็นประกาศปาวๆ เรื่องซอพท์แวร์พาร์ค ช่วยพัฒนาโปรแกรมเมอร์ไทย

จากประสพการณ์ที่ได้รับฟังมา เนคเทคนั้นเล่า คือ ดินแดนแห่งสนธยา สามารถที่จะดับไฟอันร้อนแรงของโปรแกรมเมอร์น้อยใหญ่ ที่หลงเข้าไปได้หมดจดทุกตัวตน เค้ายังแซวกันอยู่บ่อยๆ ว่า โปรแกรมเมอร์ที่เนคเทคน่าจะไปลงรับสมัคร ส.ส. หรือไม่ก็เข้าไปทำงานในพรรคการเมืองซะ ให้รู้แล้วรู้รอดไป เพราะแต่ละท่านนั้น ต่างก็เขี้ยวลากดิน เล่นการเมืองเก่งกว่าเขียนโปรแกรมเป็นไหนๆ : )

ล้วพวกเราจะไม่ไปให้กำลังใจกับคุณนุสรณ์ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2545 นี้ ช่วงเวลา 16.00-17.00 น. ใน Technical Exchange กันหน่อยหรือครับ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่รัฐบาลจะประกาศ ให้ Linux เป็น OS แห่งชาติ จริงเท็จหรือสงสัยสิ่งใด เราจะมาคุยกับ คุณนุสรณ์ อีกครั้งหนึ่งในวันดังกล่าว

Back to webmaster talk

red line
Home | What's new? | Basic HTML | Reviews Programs | Tip&Tricks | Download | Site Map
red line